การกำหนดขอบเขตของข้อมูล
- ความเป็นมา
- คำนิยาม
- วัตถุประสงค์การจัดทำฐานข้อมูล
- การนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน
- กลุ่มเป้าหมาย
- แหล่งที่มาของข้อมูล
- ความถี่ในการจัดเก็บข้อมูล
- กลุ่มที่รับผิดชอบ
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของประเทศโดยใช้พื้นที่เป็นฐานผสานจุดแข็งของการปฏิรูปแบu top-down และ bottom-up รองรับด้วยพระราชบัญญัติ เน้นนวัตกรรมการบริหารจัดการนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และนวัตกรรมเชิงนโยบายในทุกมิติ มีการปรับระบบนิเวศ (ecosystem) ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เทียบได้กับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC (Eastern Economic Corridor) ที่เป็นจุดเริ่มต้นสร้างความเจริญในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรสมัยใหม่ของประเทศ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่หรือจังหวัดร่วมกันออกแบบและจัดการศึกษาเพื่อตอบโจทย์พื้นที่ ที่สะท้อนความต้องการจำเป็นของผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เป็นการจัดการศึกษาที่เน้น demand side โดยร่วมกันสร้างจินตนาการใหม่ที่มุ่งหวังเกี่ยวกับระบบกลไกสัมพันธภาพแบบใหม่ในการจัดการศึกษาและการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษา ภาคีเครือข่ายร่วมคิดค้นพัฒนานวัตกรรมการลดความเหสื่อมล้ำและการเพิ่มสัมฤทธิผลในการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็นองค์รวม ทั้งผลการเรียนรู้ด้านสมรรถนะ ความรู้ ทักษะ และเจตคติของเด็กและเยาวชนในแต่ละพื้นที่ การประกาศใช้พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ถือเป็นการส่งสัญญาณของรัฐบาลที่เอื้ออำนวยให้คนในพื้นที่ทุกภาคส่วน คิดและลงมือทำอย่างเต็มกำลังความสามารถ ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ที่จะทำให้ระบบการศึกษาไทยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาชาติ
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตังพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลศรีสะเกษ ระยอง เชียงใหม่ กาญจนบุรี และจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้เกิดรูปแบบใหม่ในการบริหารจัดการและจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ มุ่งพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน ตามบริบทพื้นที่และความต้องการของประเทศ เป็นไปตามทิศทางการพัฒนาประเทศและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก สอดคล้องกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 และวัตถุประสงค์ของแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เป็นไปตามนโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษา ปีงบประมาณ 2562 ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มุ่งเน้นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ่อแม่ผู้ปกครองสำหรับการจัดการศึกษาระดับอนุบาล เน้นให้ครูและผู้เรียนสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและจัดการเรียนรู้แบบองค์รวมจัดแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพสำหรับการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยมีหลักการสำคัญของการจัดการศึกษาให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกวัยได้รับการศึกษาในระบบต่างๆ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เด็กและเยาวชนมีทัศนคติที่ถูกต้อง มีพื้นฐานชีวิตที่เข้มแข็ง จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก (กระทรวงศึกษาธิการ, 2562)
ข้อมูล หมายถึง เรื่องราว ข้อเท็จจริง หรือองค์ประกอบพื้นฐานที่เกี่ยวกับสถานที่นำร่องพื้นที่นวัตกรรม
นวัตกรรม หมายถึง การผลิต กระบวนการ การประดิษฐ์คิดค้น สื่อ เอกสาร ซึ่งเกิดจากความคิดริเริ่มการทำงานสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีใหม่ ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงและยกระดับความคิด ทักษะ สัมฤทธิ์ผลชองผู้เรียน
สถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรม หมายถึง หน่วยงานที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน มีการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนของนวัตกรรมที่สถานศึกษาคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนตามบริบทของพื้นที่
1. เพื่อรวบรวมรายชื่อสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรม
2. เพื่อรวบรวมนวัตกรรมที่โรงเรียนใช้ในการจัดการเรียนการสอน
เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการนำนวัตกรรมการศึกษาไปพัฒนาต่อยอดและใช้ประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
1. ภายในกระทรวงศึกษาธิการ
- สพฐ
- สช
- ศึกษาธิการจังหวัด
2. ภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
- อบจ.
- มหาวิทยาลัยในพื้นที่
เก็บข้อมูลจำนวน 1 ครั้ง/ปีงบประมาณ
กลุ่มส่งเสริมการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้