ฐานข้อมูลความร่วมมือของภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษาทุกมิติ

การกำหนดขอบเขตของข้อมูล

  • ความเป็นมา
  • คำนิยาม
  • วัตถุประสงค์การจัดทำฐานข้อมูล
  • การนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน
  • กลุ่มเป้าหมาย
  • แหล่งที่มาของข้อมูล
  • ความถี่ในการจัดเก็บข้อมูล
  • กลุ่มที่รับผิดชอบ

         ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ เห็นสมควรให้มีการปรับปรุงโครงสร้าง บทบาท ภารกิจ หน้าที่และอำนาจของศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการในการขับเคลื่อนการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท อย่างมีเอกภาพ ลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติราชการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ รวมทั้งสามารถบูรณาการการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบททางสังคม ทั้งนี้ ให้จัดตั้งศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565

ภาคีเครือข่ายความร่วมมือ หมายถึง การเชื่อมโยงระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล กลุ่มองค์กร กับศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสมัครใจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรมร่วมกันหรือปฏิบัติภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน ภายใต้เป้าหมายและวิธีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบโดยที่แต่ละฝ่ายยังคงปฏิบัติภารกิจหลักของตนต่อไป

การศึกษาทุกมิติ หมายถึง การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา มิติด้านคุณภาพการศึกษา ด้านความเท่าเทียม ด้านโอกาส ด้านความมั่นคง ด้านพัฒนา เป็นต้น ในลักษณะที่เหมาะสมกับบริบทสังคมวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัดชายแดนภาคใต้ หมายถึง จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสงขลา 4 อำเภอ (อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย)  และจังหวัดสตูล

1. เพื่อจัดทำข้อมูลประเด็นความร่วมมือของภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษาทุกมิติ

2. เพื่อใช้ฐานข้อมูลในการกำหนดแนวทางความร่วมมือ และบริหารเครือข่ายที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษาทุกมิติ

1. การนำข้อมูลความร่วมมือของภาคีเครือข่ายไปวิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อสร้างเครือข่าย บริหารเครือข่าย กำหนดแนวทางความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างความร่วมมือที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกมิติ

2. การนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในปีงบประมาณ ต่อไป

  1. หน่วยงานการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  2. ภาคประชาสังคม และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกจังหวัดชายแดนภาคใต้

1. ภายในกระทรวงศึกษาธิการ

                   1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                   2) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

                   3) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                   4) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

                   5) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

2. ภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ

                   1) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า และหน่วยงานในกำกับ

                   2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม

                   3) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

                   4) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

                   5) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงมหาดไทย

                   6) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

                   7) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ

                   8) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

                   9) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงแรงงาน

                   10) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงยุติธรรม

                   11) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

- ตลอดปีงบประมาณ ตามประเด็นความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง

- ประจำปีงบประมาณ ปีงบประมาณละ 2 ครั้ง (เดือนตุลาคม และเดือนเมษายน) เพื่อใช้ในการสรุปข้อมูล

กลุ่มสื่อสารและบริหารเครือข่ายการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

กลุ่มความร่วมมือด้านการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Scroll to Top