ฐานข้อมูลศูนย์พัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร

การกำหนดขอบเขตของข้อมูล

  • ความเป็นมา
  • คำนิยาม
  • วัตถุประสงค์การจัดทำฐานข้อมูล
  • การนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน
  • กลุ่มเป้าหมาย
  • แหล่งที่มาของข้อมูล
  • ความถี่ในการจัดเก็บข้อมูล
  • กลุ่มที่รับผิดชอบ

          เด็กและเยาวชนเป็นพื้นฐานสำคัญ เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่จะช่วยสร้างพื้นฐานของสังคมในอนาคต เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่มีความแตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย มีความหลากหลายทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรม เชื้อชาติและศาสนา จึงส่งผลให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีพื้นฐานด้านภาษาที่หลากหลาย อาทิ ภาษาไทย ภาษามลายู ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ เป็นต้น การตระหนักถึงความสำคัญของภาษาและส่งเสริมการใช้ภาษาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง  ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ การถ่ายทอดความรู้ และใช้ในการประกอบวิชาชีพในอนาคตจากความสำคัญของภาษาต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนดังกล่าว พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี/ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้มีนโยบายและข้อสั่งการเมื่อคราวประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ครั้งที่ 1/2564 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ โดยให้ดำเนินการเพิ่มเติมในเด็กช่วงอายุ 4 – 7 ปีและมอบหมายให้นำเข้าคณะอนุกรรมการบริหารจัดการด้านการศึกษาของนักศึกษาไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (อบม.จชต.) ไปพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ซึ่งต่อมาในการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประธานการประชุมได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติมว่าทำอย่างไรให้มีศูนย์พัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กช่วงอายุ 4 – 7 ปี ในทุกหมู่บ้าน ในแต่ละอำเภอ แต่ละจังหวัด

         ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในจังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ระดับกระทรวงและระดับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา) ประกอบด้วย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานศึกษาธิการภาค 7  สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 43, 44 สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด หน่วยเฉพาะกิจจังหวัด และสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่เพื่อประกอบการรับฟังความคิดเห็นและประมวลแนวทางการจัดตั้ง “ศูนย์พัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร” และได้รายงานความก้าวหน้าให้ที่ประชุมสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สล.คปต.) และคณะทำงานเพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารของเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทราบ เพื่อนำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะจากการประชุมมาพิจารณาดำเนินการอย่างรอบคอบ สอดคล้องกับบริบทของชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้การขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารไปสู่เป้าหมายและเป็นรูปธรรม

         ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นหน่วยหลักในการบูรณาการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ ได้ร่วมกับหน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประชุมหารือกำหนดแนวทางการพัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารของเยาวชนในช่วงอายุ 4 - 7 ปี และได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองศูนย์พัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (นำร่อง) โดยได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่/สถานที่ ที่มีความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร จำนวน 184 ศูนย์

      ศูนย์พัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร หมายถึง สถานที่สำหรับเตรียมความพร้อม ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาทักษะภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ เพื่อการสื่อสารที่เหมาะสมกับเด็ก อายุ ๔ - ๗ ปี เยาวชน และประชาชนตามสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในหมู่บ้านและชุมชน และสอดคล้องกับบริบทของชุมชนโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่ายในพื้นที่

1. เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของศูนย์พัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารที่จัดตั้งขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

2. เพื่อกำหนดวิธีการ รูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมตามความพร้อมของหมู่บ้าน/ชุมชน

  1. เพื่อนำข้อมูลไปใช้กำหนดนโยบาย/โครงการ ในปีงบประมาณต่อไป
  2. เพื่อนำข้อมูลไปใช้สนับสนุนให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. เพื่อนำข้อมูลไปใช้ขยายการจัดตั้งศูนย์พัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร ในพื้นที่ จชต.

เด็กอายุระหว่าง 4 - 7 ปี เยาวชน และประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

1. ภายในกระทรวงศึกษาธิการ

    1.1  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย

        1) สำนักงานศึกษาธิการภาค 7

        2) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

        3) ศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

        3) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ได้แก่ สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ และสถานศึกษาในสังกัด

        4) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ กศน. ตำบล ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และแหล่งการเรียนรู้ชุมชน

     1.2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย

        1) สํานักพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

        2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

        3) สถานศึกษาในสังกัด

2. ภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ

    2.1 สำนักนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย 

         1) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

        2) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

        3) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า

        4) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แก่ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

    2.2 กระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย

         1) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้แก่

        2) องค์การบริหารส่วนจังหวัด

        3) องค์การบริหารส่วนตำบล

       4) สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด

       5) สำนักงานเทศบาล

       6) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

       7) สถานศึกษาในสังกัด

   2.3 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกอบด้วย 

      1) มหาวิทยาลัย

     2) วิทยาลัยชุมชน

     3) สถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

  2.4 กระทรวงวัฒนธรรม ประกอบด้วย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด

  2.5 กระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

  2.6 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เก็บข้อมูลจำนวน 2 ครั้ง/ปีงบประมาณ

กลุ่มส่งเสริมการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Scroll to Top