การกำหนดขอบเขตของข้อมูล
- ความเป็นมา
- คำนิยาม
- วัตถุประสงค์การจัดทำฐานข้อมูล
- การนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน
- กลุ่มเป้าหมาย
- แหล่งที่มาของข้อมูล
- ความถี่ในการจัดเก็บข้อมูล
- กลุ่มที่รับผิดชอบ
จากปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาความไม่เข้าใจถึงความเป็นตัวตนหรือความเป็นอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ของภาครัฐ ทำให้โอกาสการเข้าถึง รวมถึงการพัฒนาที่ผ่านมาไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของสังคมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้ง นโยบายหลายอย่างของภาครัฐเองกลับกลายเป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งและเป็นชนวนหรือต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความระแวงซึ่งกันและกันของคนในพื้นที่ ซึ่งหนึ่งในนโยบายของภาครัฐที่กล่าวถึงก็คือ นโยบายด้านการศึกษา รวมทั้งปัญหาในการสื่อสารข้ามภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของคนในพื้นที่กับหน่วยงานภาครัฐ ส่งผลให้เกิดความหวาดระแวงถึงการทำลายอัตลักษณ์ทางด้านภาษาและวัฒนธรรมของคนในชุมชน ปัญหาที่พบ คือ ความกลัวว่าอัตลักษณ์มลายูจะหายไปจากสังคมมุสลิม แม้ว่าภาครัฐจะพยายามแก้ปัญหา แต่ปัญหาจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะใช้วิธีแก้ปัญหาที่ละเลยในสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์และความเป็นมุสลิม “อัตลักษณ์มลายูเป็นสิ่งที่ชนชาติมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้หวงแหนมากกว่าชนชาติอื่นเนื่องจากมีความเชื่อมโยงกันทั้งด้านภาษาและศาสนา จึงไม่มีทางที่ชาวไทยมุสลิมจะลืมภาษามลายู ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามกลืนภาษามลายูด้วยภาษาไทย และพยายามหาวิธีให้เด็กมุสลิมเรียนภาษาไทย แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จดังจะเห็นจากผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนมุสลิมจะต่ำกว่าเด็กที่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก เนื่องจากเด็กมุสลิมไม่สามารถใช้ภาษาไทยในการตอบคำถามได้อย่างลึกซึ้ง
จากผลพวงของสถานการณ์ประกอบกับบริบทวิถีอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดการกับความแตกต่างหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรม ให้ผู้คนที่มีความแตกต่างสามารถอยู่ร่วมกันได้ บนหลักการของความเท่าเทียม มีสิทธิในการดำรงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของกลุ่มตน ดังนั้น รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในพื้นที่ จึงได้มีการกำหนดนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม มุ่งให้ “สังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัย ปราศจากเงื่อนไขความรุนแรงวิถีชีวิตของทุกคน ได้รับการปกป้อง พัฒนาบนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรม และมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมสร้างสันติสุข อย่างยั่งยืน”และมีวัตถุประสงค์ 6 ประการ เพื่อ (1) ให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัย สงบสันติ (2) พัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในพื้นที่ (3) ให้สังคมไทยและสังคมในพื้นที่ยอมรับและเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมและร่วมกันในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (4) พัฒนาศักยภาพของคน สังคมและเศรษฐกิจ (5) สร้างความเชื่อมั่นและหลักประกันความต่อเนื่องของกระบวนการ พูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้และ (6) สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ต่อสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ การกำหนดนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าว สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ประเด็นการปฏิรูปที่ ๔ การพัฒนาระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง ที่นับว่าเป็นรากฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาประเทศ ทั้งในเรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ระบบการเมืองที่เข้มแข็ง ระดับศีลธรรมในสังคม รวมถึงระบบสวัสดิการสำหรับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางและกลุ่มบุคคลบนพื้นที่สูง กลุ่มชาติพันธุ์ ที่เป็นกลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคมเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้บนหลักการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม และสอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคน ให้มีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข โดยเฉพาะการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม เป็นการอยู่ร่วมกันของบุคคลที่มี ความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี รวมทั้งทัศนคติ ความเชื่อ ดังนั้น การเรียนรู้เพื่อยอมรับในความแตกต่างและความหลากหลายของสังคมพหุวัฒนธรรมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ความไว้วางใจ ต่อภาครัฐ ยอมรับนโยบายในการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสริมสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ส่งเสริมให้สถานศึกษานำกระบวนการสันติศึกษาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อการอยู่ ร่วมกันอย่างมีความสุขผ่านกิจกรรมต่าง ๆ กลไกสำคัญในการเสริมสร้างสันติ คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการพัฒนาการศึกษาผ่านสถานศึกษา และเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนและขยายผลตำบลพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งไปยังจำนวนตำบลที่ประชาชนต่างวัฒนธรรมอยู่ร่วมกัน สร้างความร่วมมือระหว่างประชาชนกลุ่มเป้าหมายกับภาครัฐ สามารถสนับสนุนต่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนได้รับการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น และชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเข็มแข็งเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมมากขึ้น
ข้อมูลสถานศึกษา หมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานของหน่วยงานที่จัดการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอสงขลา (จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย)
การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม หมายถึง การทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ผลักดันหรือเกื้อหนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อันจะส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา (จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย) สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
1. เพื่อรวบรวมข้อมูลสถานศึกษาที่มีการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (3 จังหวัด และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย)
2. เพื่อรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย (ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน) ที่ได้รับการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม
3. เพื่อรวบรวมรูปแบบ ลักษณะ แนวทางการจัดกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (3 จังหวัด และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย)
- เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นไม่ให้เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อน
- เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมให้เกิดความหลากหลายและตอบสนองตามนโยบายการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
- เพื่อสนับสนุนข้อมูลสารสนเทศประกอบการดำเนินงานของหน่วยงานอื่น
ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน ที่ได้รับการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม
1 ภายในกระทรวงศึกษาธิการ
- สพฐ
- สช
- อาชีวะ
- ศึกษาธิการ ภาค 7
- ศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 จังหวัด (4 อำเภอ ของจังหวัดสงขลา)
2 ภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
- สมาคมสานฝันเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้
- กอ.รมน ภาค 4 ส่วนหน้า,ศูนย์สันติวิธี,หน่วยเฉพาะกิจทั้ง 4 จังหวัด
- กระทรวงวัฒนธรรม,วัฒนธรรมจังหวัด
เก็บข้อมูลจำนวน 4 ครั้ง/ปีงบประมาณ
กลุ่มส่งเสริมการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้