การกำหนดขอบเขตของข้อมูล
- ความเป็นมา
- คำนิยาม
- วัตถุประสงค์การจัดทำฐานข้อมูล
- การนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน
- กลุ่มเป้าหมาย
- แหล่งที่มาของข้อมูล
- ความถี่ในการจัดเก็บข้อมูล
- กลุ่มที่รับผิดชอบ
การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา และต้องให้เด็กไทยได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี (ม.3) โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการรวบรวมข้อมูลการศึกษาเมื่อจบการศึกษาระดับ ม.3 สายสามัญและสายอาชีพ เพื่อวิเคราะห์และวางแผนอนาคตการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
การศึกษาต่อเมื่อจบการศึกษาระดับชั้น ม.3 หมายถึง การเข้ารับการศึกษาต่อสายสามัญ (ระดับชั้น ม.4) และสายอาชีพ (ระดับชั้น ปวช.1 ,หลักสูตรระยะสั้น)
1. เพื่อจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการจบการศึกษาระดับชั้น ม.3
2. เพื่อจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการเข้าศึกษาต่อสายสามัญ (ม.4) และสายอาชีพ (ปวช.1 , หลักสูตรระยะสั้น)
- ข้อมูลสำหรับติดตามนักเรียนตกหล่น หรือออกนอกระบบการศึกษา
- วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการจัดการศึกษา
- วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการแนะแนวการศึกษาต่อ
นักเรียนจบการศึกษาระดับชั้น ม.3 (เข้าศึกษาต่อสายสามัญ (ม.4) เข้าศึกษาต่อสายอาชีพ (ปวช.1 , หลักสูตรระยะสั้น) และประกอยอาชีพหลังจากจบการศึกษาระดับชั้น ม.3)
1. ภายในกระทรวงศึกษาธิการ
1.1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.2 สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
1.3 สำนักงานการศึกษาเอกชน
2 ภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
2.1 กระทรวงมหาดไทย (โรงเรียนสังกัดเทศบาล, โรงเรียนสังกัด อบจ.)
2.2 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (โรงเรียนกีฬา)
2.3 กระทรวงวัฒนธรรม (โรงเรียนพระปริยัติธรรม)
เก็บข้อมูลจำนวน 2 ครั้ง/ปีงบประมาณ
กลุ่มส่งเสริมการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้