การกำหนดขอบเขตของข้อมูล
- ความเป็นมา
- คำนิยาม
- วัตถุประสงค์การจัดทำฐานข้อมูล
- การนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน
- กลุ่มเป้าหมาย
- แหล่งที่มาของข้อมูล
- ความถี่ในการจัดเก็บข้อมูล
- กลุ่มที่รับผิดชอบ
ตามนโยบายของรัฐบาล “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยให้ความสำคัญกับประชาชนทุกกลุ่มให้ได้รับสิทธิและโอกาสอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันโดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาจำนวนมากแนวทางการดำเนินงานติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินการตามบทบาทและภารกิจการจัดการศึกษาตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล จึงจัดทำโครงการส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา “พาน้องกลับมาเรียน” เพื่อติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา และได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพเพื่อส่งเสริมให้เด็กที่กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ได้รับการศึกษาอย่างน้อยจนจบการศึกษาภาคบังคับ และหรือได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมถึงการฝึกอบรมอาชีพและพัฒนาฝีมือเพื่อการมีงานทำต่อไป
โอกาสทางการศึกษา หมายถึง การให้โอกาส ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กทุกกลุ่มได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันตามสิทธิและเป็นธรรม โดยจะแบ่งเด็กออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
1) เด็กปกติ
2) เด็กด้อยโอกาส เด็กชายขอบ/ต่างด้าว
3) เด็กพิการ
4) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
5) เด็กในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
เด็กตกหล่น หมายถึง เด็กในวัยการศึกษาภาคบังคับที่ยังไม่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
เด็กออกกลางคัน หมายถึง เด็กในวัยการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เคยเข้าเรียนในสถานศึกษาแล้ว แต่ออกจากสถานศึกษาก่อนที่จะจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พาน้องกลับมาเรียน หมายถึง การช่วยเหลือเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษา โดยใช้ข้อมูลนักเรียนที่หายไปจากภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ของแต่ละสังกัด (สพฐ. สอศ. สช. กศน. อปท.) เป็นข้อมูลตั้งต้นในการค้นหา ติดตาม ช่วยเหลือให้กลับมาเรียน
พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ หมายถึง จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และ 4 อำเภอ ของจังหวัดสงขลา คือ อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอเทพา
1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลเด็กตกหล่น ออกกลางคันในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. เพื่อสนับสนุน หาแนวทางช่วยเหลือ และส่งเสริมโอกาสด้านการศึกษาให้แก่กลุ่มเด็กตกหล่นออกกลางคัน
- เพื่อนำข้อมูลไปใช้กำหนดนโยบาย/โครงการ ในปีงบประมาณต่อไป
- เพื่อนำข้อมูลไปใช้สนับสนุนให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้
1. ภายในกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
2. ภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
เก็บข้อมูลจำนวน 2 ครั้ง/ปีงบประมาณ
กลุ่มสนับสนุนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้