การกำหนดขอบเขตของข้อมูล
- ความเป็นมา
- คำนิยาม
- วัตถุประสงค์การจัดทำฐานข้อมูล
- การนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน
- กลุ่มเป้าหมาย
- แหล่งที่มาของข้อมูล
- ความถี่ในการจัดเก็บข้อมูล
- กลุ่มที่รับผิดชอบ
สืบเนื่องจากคณะอนุกรรมการบริหารจัดการด้านการศึกษาของนักศึกษาไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (อบม.จชต.) ได้พิจารณาแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้มอบหมายให้ สมช. ศึกษารายละเอียด พร้อมทั้งหารือและแลกเปลี่ยนความเห็นกับนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ พบว่า ปัญหาในหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้น ยังคงมีความซ้ำซ้อนทั้งในส่วนของรายวิชาและจำนวนชั่วโมงเรียนที่ค่อนข้างมาก จึงได้เสนอให้มีแนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้นที่ใช้ในโรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา (รอศ.) และศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
ซึ่งที่ผ่านมา การขับเคลื่อนงานของ อบม.จชต. ในการพิจารณาแนวทางฯ ดังกล่าว ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและจัดทำข้อเสนอด้านการบริหารจัดการงานการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น เพื่อพิจารณาและจัดทำข้อเสนอแนะในเรื่องดังกล่าวร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างรอบด้านต่อมาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564 ในคราวการประชุม อบม.จชต. ครั้งที่ 4/2564 ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการบูรณาการหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้น จากข้อเสนอแนะของคณะทำงานฯ ดังกล่าว โดยมีมติให้ ดำเนินการ ดังนี้
1) แนวทางระยะสั้น ให้ สช. พิจารณาแนวทางการบูรณาการหลักสูตรฯ ในตาดีกาและใน รอศ.เพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อน
2) แนวทางระยะกลาง ให้ สช. ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และเสนอต่อที่ประชุม อบม.จชต.
3) แนวทางระยะยาว ให้ สพฐ. ร่วมกับ สช. และ ศธ.ภาค 7 เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ. 2546 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555) ให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของพื้นที่ในปัจจุบัน โดยให้ศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศค.จชต.) เป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินการดังกล่าวต่อไป
หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้น หมายถึง หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2537)ในหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2553) สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และหลักสูตรแกนกลางอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 สำหรับโรงเรียนเอกชนและศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
1. เพื่อจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานศึกษาที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้นทุกสังกัด สพฐ. สช.(ตาดีกาและสถานศึกษา)
2. เพื่อสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานศึกษาที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้นทุกสังกัด สพฐ. สช.(ตาดีกาและสถานศึกษา) ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนาการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้นเพื่อให้มีความเป็นเอกภาพ
- จัดทำโครงการเพื่อสนองนโยบายรัฐบาลด้านการการบูรณาการการเรียนการสอนหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้นที่ใช้ในโรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา (รอศ.) และศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
- ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
- โรงเรียนของรัฐ
- โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา (รอศ.)
1. ภายในกระทรวงศึกษาธิการ
สพฐ. สช.
2. ภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
-
เก็บข้อมูลจำนวน 2 ครั้ง/ปีงบประมาณ
กลุ่มสนับสนุนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้